ข้อความวิ่ง

ยินดีตอนรับผู้ที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมเว็บบล็อกสื่อการสอนออนไลน์วิชาการบริการอาหารและเครื่องดื่ม

บทที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มชนิดต่างๆ

 ประเภทเครื่องดื่ม




ประเภทของเครื่องดื่มเราสามารถแบ่งเครื่องดื่มออกได้เป็น  2  ประเภทใหญ่ๆดังนี้

1. เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์(Non-Alcohol Beverage) หรือเรียกได้อีกอย่างว่า (Soft Drink)

2. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (Alcohol Beverage)  หรือเรียกได้อีกอย่างว่า  (Hard Drink)

เครื่องดื่มทั้ง 2 ประเภทเรายังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดได้อีกหลายชนิดดังต่อไปนี้

1. เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (Non- Alcohol Beverage) (Soft drink)

เครื่องดื่มประเภทนี้มีหลายชนิดได้แก่

1. น้ำเปล่า(Water)  คือน้ำที่บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งอื่นๆ เจอปนเหมาะสำหรับการดื่มในทุกๆมื้ออาหารดื่มได้ทั้งเย็นๆ และตามอุณหภูมิห้อง

2. น้ำแร่ธรรมชาติ(Natural Mineral Water) เป็นเครื่องดื่มที่ได้จากธรรมชาติมีสารพวกเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

ยอมรับว่าจะช่วยในการย่อยอาหารและลดกรดในกระเพาะอาหารได้ เหมาะกับการดื่มในทุกๆมื้อของอาหารดื่มได้ทั้งเย็นและตามอุณหภูมิห้อง

3. น้ำผลไม้สด (Fresh Fruit Juice) เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากได้มาจากการนำผลไม้ที่ต้องการทำมาคั้นเอาแต่น้ำซึ่งก็เป็น

ประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ดื่มได้ทั้งเย็นและตามอุณหภูมิห้องและสามารถดื่มได้ทุกมื้ออาหารมีทั้งเป็นกระป๋อง (Canned Fruit Juice) ด้วย

4. น้ำสมุนไพร (Herbal Juice) นอกจากน้ำผลไม้สดแล้วเรายังสามารถนำสมุนไพรมาทำเป็นเครื่องดื่มได้อีกด้วยในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก

และยังเป็นที่ยอมรับว่ามีประโยชน์แก่ร่างกายเป็นอย่างมากดื่มได้ทั้งแบบร้อนๆ เย็น ๆ และบางชนิดสามารถดื่มได้ทุกมื้ออาหารมีทั้งเป็นกระป๋องด้วย

5. น้ำ เชื่อม (syrup)และน้ำเชื่อมผลไม้ (Cordial )

- น้ำเชื่อมหมายถึงน้ำกับน้ำตาลเคี่ยวรวมกันหรือมาละลายกับน้ำเปล่าซึ่งสามารถนำมาปรุงเครื่องดื่มและอาหารได้

- น้ำเชื่อมผลไม้หมายถึงการเติม สี กลิ่น รสของผลไม้ที่ได้จากการสังเคราะห์ลงไปในน้ำเชื่อม เช่น

น้ำเชื่อมที่มีรสมะนาว  (Lime Cordial ) น้ำเชื่อมรสทับทิม (Grenadine Syrub ) เป็นต้น

6. น้ำผลไม้เข้มข้น ( Fruit Squash )  หมายถึงเครื่องดื่มชนิดที่ทำจากน้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ และมีการเติมน้ำตาล

หรือน้ำเชื่อมเพื่อให้มีความเข้มข้นมากขึ้น นอกจากนี้อาจจะมีการปรุงแต่งสี กลิ่น และรส ลงไปด้วย

7. น้ำโซดา ( Soda water )  เป็นเครื่องดื่มที่ผสมระหว่างเกลือโซเดียมไบคาร์บอเนต กับ น้ำมีรสซ่า

8. อาร์ทิฟิเชียล วอเตอร์ (Artificial Water ) หมายถึงเครื่องดื่มที่ได้จากการนำเอาน้ำมาปรุงแต่ง สี กลิ่น

และรสชาติลงไปตามต้องการเช่น Coca Cola  Seven up เป็นต้น

9. น้ำนม (Milk) สามารถแบ่งออกได้เป็นน้ำนมที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อตามวิธีการต่าง ๆ และ น้ำนมสด

2. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  ( Alcoholic Beverage )

  สุรา  แปลว่าเหล้าดื่มแล้วเมาแสนสบายขึ้นสวรรค์ได้ง่ายดายพบนางฟ้านับหมื่นแสนผู้ใดไม่ดื่มเหล้าตกนรกทั่วดินแดนยมบาลจับตัวแขวน

            เอาหัวจุ่มลงโลกันต์ ( ฮา )”

( ภาษิตจากปีศาจสุรา )

คำว่า สุรา ตาม พระราชบัญญัติสุรา กรมสรรพสามิต ในกระทรวงการคลัง ได้แบ่งประเภทของสุราออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. เมรัย  (  fermented liquors )คือ ผลที่ได้จากการหมักส่า *ให้เกิดน้ำเมา มีแรงแอลกอฮอล์มากหรือน้อยตามความต้องการโดยไม่มีการกลั่น แบ่งได้ 4 ชนิด

- เมรัยจากธัญพืช เป็นเมรัยที่ได้จากการหมักเมล็ดธัญพืช หรือแป้งจากเมล็ด หรือแป้งจากหัวธัญพืชเช่น เบียร์ อุ สาโท ไวน์ข้าว

- เมรัยจากน้ำหวาน เป็นเมรัยที่ได้จากการหมักน้ำหวานและน้ำตาลจากพืชหรือสัตว์ เช่นน้ำตาลเมา กะแช่(toddy) ไซเดอร์ ( cider ) ไวน์ผลไม้  ไวน์น้ำผึ้ง

- เมรัยผสม เป็นเมรัยที่ใช้เมรัยชนิดที่  1 และ 2 ผสมกันแล้วแต่งกลิ่น สี รสชาติด้วยตัวยาสมุนไพร

หรือผลไม้ เช่น เวอร์มุธ  (vermouth) ไวน์ยา  ( medicated wines ) ไวน์พั้นซ์ (punch wine )

- เมรัยผสมสุรากลั่น เป็นเมรัยที่ผสมระหว่างเมรัยชนิดที่ 1 กับชนิดที่ 2 แล้วปรับแรงแอลอกฮอล์ด้วยสุรากลั่นเพื่อให้มีแรงแอลกอฮอล์สูงขึ้น

 แต่ไม่เกิน 23 ดีกรี เช่น ไวน์ดีกรีสูง (  fortified wine ) เหล้าเชอรี่ (sherry ) ปอร์ตไวน์( Port wine )

2. สุรากลั่น  ( distilled liquors / distilled  spirits ) คือแอลกอฮอล์กินได้ ( ethyl alcohol ) ที่ได้จากการหมักส่าผลไม้ น้ำหวาน

 

พืชและธัญพืชให้เกิดแรงแอลกอฮอล์แล้วนำมากลั่น โดยบางชนิดมีการบ่มให้มีรสชาติและกลิ่นดี  แบ่งได้ 3 ชนิด

- สุรากลั่นโดยตรง เพื่อให้ได้รสและกลิ่นเฉพาะตัวของวัตถุดิบที่ใช้ในการหมัก อาจมีการปรุงแต่งกลิ่น รส และปรับระดับความแรงแอลกอฮอล์

ให้พอเหมาะ เช่นสุราขาว หรือเหล้าโรง  วอดก้า (  vodka ) เตกิล่า ( tequila ) เป็นต้น

- สุรากลั่นปรุงหรือผสมพิเศษ  เป็นสุรากลั่นที่นำมาปรุงแต่งระดับแอลกอฮอล์ กลิ่นสี และรสชาติด้วยสมุนไพรและวัตถุดิบปรุงแต่งอื่น ๆ

 แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ สุราแช่สมุนไพร เช่น สุราจีนชนิดต่าง ๆ  

และ สุราแช่สมุนไพรกลั่นทับ แบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิดย่อยคือ 

ก. สุรากลั่นแช่สมุนไพรและผลไม้กลั่นทับเป็นสุราที่แช่ผลไม้หรือสมุนไพรจนได้กลิ่นตามที่ต้องการจากนั้นจึงนำไปกลั่นซ้ำเอาแต่กลิ่น

 มิได้มุ่งเอารสชาติหรือสรรพคุณตัวยา  เช่นเหล้ายิน (  Gin  )  สุราผสม หรือสุราผสมพิเศษ  สุราปรุงพิเศษ

ข. สุรากลั่นปรุงรส เป็นสุรากลั่นปรุงรส เป็นสุราที่กลั่นแล้วนำมาปรุงแต่งรสให้หวาน หอม มีสีต่าง เช่นสุราเป๊ปเปอร์มินท์ (Peppermint) สุรากาแฟ (Cream of coffee ) เป็นต้น

ค. สุรากลั่นปรุงและบ่ม  เป็นสุรากลั่นที่ปรุงแต่งแรงแอลกอฮอล์ กลิ่น สี และรสชาติด้วยหัวเชื้อปรุงแล้วนำมาบ่มในถังไม้โอ๊ก เช่น สก็อตวิสกี้ (Scotch Whisky ) ( Bourbon ) (Brandy)  (Rum)

3. สุราพิเศษ  หมายถึงสุรากลั่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉ.ที่ 46 (พ.ศ. 2513)ซึ่งทำโดยใช้วัตถุดิบ การกลั่น การเก็บบ่มและการปรุงแต่งดังนี้

         -  whisky

         -  rum

          -  vodka                                  

          -  Liqueur

          -  Brandy

          -  Gin                                     

 

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จากความหมายในทางวิชาการ

“สุรา” หมายถึง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ชนิดที่ดื่มได้หรือเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ผสมอยู่ในปริมาณไม่เกิน 60 %

 ปริมาณดังกล่าวนี้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสากลสำหรับปริมาณที่คนสามารถดื่มได้  (ขณะที่เมืองไทยอนุญาตให้มีปริมาณแอลกอฮอล์ได้สูงถึง ๘0 %)

สุราแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

1. สุราหมักหรือเมรัย ได้จากการนำเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวชนิดต่าง ๆ ผลไม้ เช่น องุ่น  น้ำตาลจากพืช เช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลสด

ไปหมักกับยีสต์จนเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ดีกรี อ่อน ๆ กลายเป็นน้ำเมาที่รสชาติดี ได้แก่ เบียร์ ไวน์ แชมเปญ กระแช่ สาโท น้ำตาลเมา  สาเก  เป็นต้น

2. สุรากลั่น  คือการนำสุราหมักมาผ่านกรรมวิธีการต้มกลั่นอีกครั้ง จนได้แอลกอฮอล์ที่มีดีกรีสูงขึ้น เช่น วิสกี้ บรั่นดี รัม คอนยัค เหล้าโรงหรือเหล้าขาว

 และสุราผสมพิเศษของไทยที่นำเหล้าโรงมาปรุงแต่งกลิ่นรส  เช่น แม่โขง แสงทิพย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น